ที่มาและความสำคัญ
สังคมไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้เผชิญกับวิกฤตทางคุณค่านานัปการท่ามกลางความขัดแย้ง ความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ภาวะโลกาภิวัตน์ในโลกยุคปัจจุบันยิ่งเร่งเร้าให้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดเร็วมากขึ้น ก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับค่านิยมต่างๆ ที่ยึดถือกันมาเป็นเวลานาน ท่ามกลางวิถีปฏิบัติหรือจารีตทางเลือกที่ปรากฏมากขึ้นในโลกที่ผันผวนดังกล่าว พลังปัญญาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เคยได้รับการเชื่อถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นหลักที่ค้ำจุนรากฐานทางสังคมถูกท้าทาย นอกจากนี้ พัฒนาการของโลกวิทยาศาสตร์ยิ่งผลักดันให้วิธีคิดแบบมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ชายขอบ แม้แต่พลวัตในโลกมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เองก็ดำเนินไปอย่างเนิบช้าและไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม
ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย มีความเชื่อว่าพัฒนาการของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ พินิจพิเคราะห์วัฒนธรรมต่างๆ พร้อมกับเปิดกว้างต่อแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ทั้งจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เพื่อรังสรรค์และบ่มเพาะกระบวนวิธีการถกเถียงเรื่องคุณค่าและการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องพัฒนาอีกมาก
วัตถุประสงค์
การดำเนินการ
ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2547 โครงการมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นระยะที่ 8 ระหว่าง พ.ศ. 2546 – 2564 ประกอบด้วยกิจกรรม 5 รูปแบบหลักด้วยกัน ได้แก่
โครงการการจัดประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์ระดับชาติ
จัดขึ้น 14 ครั้ง (พ.ศ. 2547 – 2563) มีการกระจายตัวทั่วทุกภูมิภาค ทั้งภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ ทางเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์จะจัดร่วมกับมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาค
รูปแบบหลักของการจัดประชุมแต่ละครั้ง คือ การประชุมวิชาการที่มี proceedings ซึ่งกำหนดหัวข้อตามกระแสที่เปลี่ยนแปลงไปของสาขามนุษยศาสตร์ โดยมีสาขาวิชาปรัชญา ประวัติศาสตร์ ภาษาศาสตร์ และวรรณกรรมเป็นพื้นฐาน ใช้เวลาโดยประมาณ 2 – 3 วัน โดยมีรูปแบบกิจกรรมหลัก 4 ส่วน คือ 1) การปาฐกถา 2) การเสวนา/การอภิปราย 3) การบรรยาย และ 4) การเสนอบทความวิจัย
ผู้เข้าร่วมมาจากหลากหลายแขนงไม่ว่าจะเป็น อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัย นักวิจัยอิสระ เจ้าหน้าที่สังกัดหน่วยงานของรัฐ และนิสิตนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาและระดับปริญญาตรี
หมวดหมู่สาขาวิชาต่าง ๆ ที่เข้าร่วมเสนอบทความในการจัดประชุมวิชาการมนุษยศาสตร์ระดับชาติ 10 สาขาวิชา ได้แก่ 1) ปรัชญา/ศาสนา 2) ประวัติศาสตร์ 3) ภาษา/วรรณกรรม 4) นิติศาสตร์ 5) ทัศนศิลป์/ศิลปะการแสดง 6) รัฐศาสตร์ 7) สังคมศาสตร์ 8) มานุษยวิทยา/สังคมวิทยา 9) อาณาบริเวณศึกษา และ 10) อื่น ๆ อาทิ นิเทศศาสตร์, ศึกษาศาสตร์, ภูมิศาสตร์, เวชศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
ครั้งที่ | ผู้จัด | วันและเวลา | หัวข้อ |
---|---|---|---|
1 | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | 26 – 27 สิงหาคม 2547 | ความจริงและการแสวงหาความจริงทางมนุษยศาสตร์ |
2 | คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 10 – 11 สิงหาคม 2548 | วิกฤตโลก วิกฤตมนุษยศาสตร์ |
3 | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ | 16 – 17 พฤศจิกายน 2549 | ความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม |
4 | คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี | 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์ 2551 | อารมณ์ อำนาจ ความรู้ ความรู้สึก |
5 | คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | 25 – 27 พฤศจิกายน 2552 | ข้า ค่า ฆ่า: อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง |
6 | คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย | 28 – 29 พฤศจิกายน 2555 | ดิน น้ำ ลม ไฟ: อุปสงค์ อุปทาน อุปลักษณ์ อุปโลกน์ |
7 | สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ | 23 – 24 มกราคม 2557 | ความกลัว ความหวัง จินตนาการ การเปลี่ยนแปลง |
8 | คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ | 27 – 29 พฤศจิกายน 2557 | มนุษยศาสตร์ที่แปรเปลี่ยน ในโลกที่เปลี่ยนแปลง |
9 | คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร | 27 – 28 สิงหาคม 2558 | ปัญญาชน ศีลธรรม และภาวะสมัยใหม่: เสียงของมนุษยศาสตร์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้? |
10 | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี | 19-20 กันยายน 2559 | ความคลุมเครือ ความเคลือบแคลง เส้นแบ่ง และพรมแดนในมนุษยศาสตร์ |
11 | คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ | 8 – 9 กันยายน 2560 | เปิดโลกสุนทรีย์ในวิถีมนุษยศาสตร์ |
12 | คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร | 7 – 8 กันยายน 2561 | อยู่ด้วยกัน: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้ำ และความเป็นอื่น |
13 | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม | 6 – 7 กันยายน 2562 | ภูมิภาคนิยมและท้องถิ่นนิยมสมัยใหม่ในโลกไร้พรมแดน |
14 | คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล | 8 – 9 กันยายน 2563 | iHumanities: เทคโนโลยี สุขภาพ และชีวิต |
15 | มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา | 10 – 11 มีนาคม 2566 | มนุษยศาสตร์สดับสรรพเสียง: ถกเถียงเพื่ออยู่ร่วม |
โครงการจัดสัมมนาเวทีสาธารณะมนุษยศาสตร์ 14 ครั้ง (พ.ศ. 2552 – 2564)
จัดขึ้นเพื่อพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ไทยกับนักวิจัยชั้นนำในสาขาต่าง ๆ ทางมนุษยศาสตร์ในโลกสากล
กิจกรรมจัดโดยเชิญนักวิชาการชาวต่างประเทศมาบรรยาย นำสัมมนาวิชาการและจัดเวิร์กช็อป โดยเป็นการร่วมมือกับมหาวิทยาลัยต่างๆเป็นผู้จัดงาน มีการบรรยายและ/หรือสัมมนาต่อยอด
สัมมนาดังกล่าวจัดในภาวะการระบาดของโรคโควิด 19 ทำให้วิทยากรเดินทางไม่สะดวก สัมมนาส่วนหนึ่งจึงจัดออนไลน์ ปีต่อมาโครงการจึงยุติลงด้วยข้อจำกัดเรื่องการเดินทาง
ครั้งที่ | ผู้รับทุน | หัวข้อ | วิทยากร |
---|---|---|---|
1/2552 | อ.ดร. สุภัควดี อมาตยกุล | Korean Pop Culture in globalizing Asia | Prof. Kim Eun-shil |
2/2552 | อ.ดร. สุภัควดี อมาตยกุล | Role Ethics & Moral Imagination: A Challenge from Confucius | Prof. Roger T. Ames |
3/2552 | อ.ดร. สุภัควดี อมาตยกุล | Foot-binding and Women in Chinese History | Dr. Dorothy Ko |
4/2554 | อ.ดร. สุภัควดี อมาตยกุล | Doing Philosophy in Contemporary World | Dr. Luca Scarantino |
5/2554 | อ.ดร. วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ | Femininity in Chinese Thinking of the Maoist Era | Prof. Tani E. Barlow |
6/2555 | ผศ.ดร. ชุติมา ประกาศวุฒิสาร | How to Read Autobiographical Narration | Dr. Sidonie Smith |
7/2559 | อ.ดร. ตุลย์ อิศรางกูร ณ อยุธยา | Genocides: Political Origins Versus Cultural Determinism | Prof. Manfred Hennnigsen |
8/2559 | ผศ.ดร. สุรเดช โชติอุดมพันธ์ | World Literature, National Markets | Prof.Dr. David Damrosch |
9/2560 | ผศ.ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ | Trickster and the Village Woman: A Psycho-Symbolic Discourse Analysis of a Lahu Picaresque Tale | James A. Matisoff |
10/2560 | Gun Dealer’s Daughter: history, historiography, literature, media and the never-ending interdisciplinary charms of the humanities and social sciences in the 21st century | Ms. Gina Apostol | |
11/2561 | ผศ.ดร. จันจิรา สมบัติพูนศิริ | Emotions and world politics | Prof. Roland Bleiker |
12/2562 | ผศ.ดร. ปิยะพงษ์ บุศบงก์ | Interpretive and Deliberative Turn in Policy Analysis | Prof. Hendrik Wagenaar |
13/2563 | อ.ดร. พศุตม์ ลาศุขะ | Laura Mulvey in Thailand and the Concept of Male Gaze in 21st Century | Prof.Dr. Laura Mulvey |
14/2564 | ผศ.ดร. วัชรพล พุทธรักษา | Critical Governance Studies: Notes on Methodology | Prof. Jonathan S. Davies |
โครงการอบรม พัฒนานักวิจัย และอาศรมวิจัย (Humanities Research Training Program)
จัดมาทั้งหมด 8 ครั้ง (พ.ศ. 2546 – 2563) เพื่อสนับสนุนให้นักวิจัยรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และพัฒนาโครงร่างวิจัย ด้วยการฝึกเขียนทบทวนวรรณกรรม ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระเบียบวิธีร่วมสมัย รวมทั้งประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีดังกล่าวกับหัวข้อของตนเพื่อยกระดับงานวิจัยให้มีคุณภาพสูงในอนาคต
ผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติจะได้อภิปรายกลุ่มรวม และกลุ่มย่อย ทำแบบฝึกหัด แก้ไขความผิดพลาด และการนำเสนอแนวทางปรับแก้ร่างประเด็นวิจัยของตนเอง
โครงการอบรมเป็นสนามฝึกให้นักวิจัยรุ่นใหม่มีทักษะทำวิจัย และสามารถพัฒนาต่อยอดการวิจัยให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนสร้างเครือข่ายนักวิจัยด้านมนุษยศาสตร์
ครั้งที่ | หัวหน้าโครงการ | วันที่จัดโครงการ |
---|---|---|
โครงการพัฒนานักวิจัยทางปรัชญาตะวันออกรุ่นใหม่ | รศ.ดร. สุวรรณา สถาอานันท์ | 1 ตุลาคม 2546 – 31 มีนาคม 2547 |
ส่งเสริมการวิจัยปรัชญาและศาสนาสัญจร | อ. ธีรพจน์ ศิริจันทร์ | 1 มีนาคม 2547 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 1 | ผศ.ดร. นลินี ตันธุวนิตย์ | 27 – 30 กรกฎาคม 2558 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 2 | อ.ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ | 6 – 9 มิถุนายน 2559 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 3 | อ.ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ | 13 พฤษภาคม 2560 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 4 | อ.ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ | 4 – 7 มิถุนายน 2561 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 5 | อ.ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ | 11 พฤษภาคม 2562 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 6 | อ.ดร. ใกล้รุ่ง อามระดิษ | 15 – 18 มิถุนายน 2563 |
อาศรมวิจัยครั้งที่ 7 | ผศ.ดร.วัชระ สินธุประมา | 14 – 15 และ 21 – 22 มกราคม 2566 (ออนไลน์ ยกเว้นปฐมนิเทศ วันที่ 26 พฤศจิกายน 2565 และปัจฉิมนิเทศ วันที่ 18 มีนาคม 2566 จะจัดออนไซต์) |
โครงการรูปแบบอื่น 27 โครงการ (พ.ศ. 2548– 2564) อาจแบ่งตามช่วงเวลาได้ 3 ช่วง คือ
ช่วงที่หนึ่ง พ.ศ. 2548 – 2556 จัดโครงการวิจัยตามขอบข่ายเนื้อหา เพื่อสร้างเครือข่ายนักมนุษยศาสตร์ในไทย หัวข้อวิจัยเน้นทางสาขาวิชาปรัชญา ศาสนา จริยศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และวรรณกรรม
ช่วงที่สอง พ.ศ. 2559 โครงการวิจัยมีหัวข้อวิจัยที่ตอบรับการเปิดประชาคมอาเซียน
ช่วงที่สาม พ.ศ. 2559 – 2564 โครงการวิจัยให้ความสำคัญแก่การทบทวน ถกเถียงถึงทฤษฎี และวิธีวิทยาด้านมนุษยศาสตร์ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ และสนับสนุนการศึกษาด้านมนุษยศาสตร์
ปี | โครงการ | หัวหน้าโครงการ |
---|---|---|
2548 | กาย-จิต-อารมณ์: ศีลธรรมกับความยุติธรรมในปรัชญาของเดส์การ์ต | สุภัควดี อมาตยกุล |
2549 | เรื่องเก่าเล่าใหม่ 1: เกศาราพุนเซล | ตรีดาว อภัยวงศ์ |
2549 | เรื่องเก่าเล่าใหม่ 2: มหัศจรรย์ผจญภัยเจ้าชายหอย | ดังกมล ณ ป้อมเพชร |
2549 | เรื่องเก่าเล่าใหม่ 3: การกำกับศิลป์สำหรับละครร่วมสมัย | ฤทธิรงค์ จิวากานนท์ |
2549 | เรื่องเก่าเล่าใหม่ 4: สีดา-ศรีราม? | พรรัตน์ ดำรุง |
2549 | ร่างกาย เสน่ห์ อัตลักษณ์ และความเท่าเทียมเรื่องสุขภาพในสังคมไทย | วิจิตร ว่องวารีทิพย์ |
2549 | อุษาคเนย์ในการรับรู้และความเข้าใจของสังคมไทยร่วมสมัย | สุเนตร ชุตินธรานนท์ |
2549 | ความยุติธรรมในตัณหาอาชญากรรม | เนื่องน้อย บุณยเนตร |
2550 | ความยุติธรรมในปรัชญาของ ปอล ริเกอร์ | ปกรณ์ สิงห์สุริยา |
2550 | ความเป็นธรรมในพระไตรปิฎก | ชาญณรงค์ บุญหนุน |
2551 | เมตตาธรรม-ความเป็นธรรม ในเวสสันดรชาดก | สุวรรณา สถาอานันท์ |
2551 | กรรมในกำมือ? ความเป็นธรรมในปรัชญาและศาสนา | พรทิพย์ ฝนหว่านไฟ |
2552 | กระแสและแนวโน้มวรรณกรรมในบริบทสังคมไทย | ตรีศิลป์ บุญขจร |
2552 | จริยศาสตร์แห่งความอาทรในขงจื๊อ | เหมือนมาด มุกข์ประดิษฐ์ |
2553 | ปรัชญาสู่สังคมไทย | พุฒวิทย์ บุนนาค |
2554 | อารมณ์กับจริยศาสตร์ | พิเชฐ แสงทอง |
2556 | สร้างแผนที่จริยศาสตร์ | ชาญณรงค์ บุญหนุน |
2556 | รามเกียรติ์: ก้าวหน้าจากรากแก้ว | ดังกมล ณ ป้อมเพชร |
2559 | ภูมิทัศน์ทางปัญญาแห่งประชาคมอาเซียน: เรียนรู้เพื่อร่วมเดินไปข้างหน้าด้วยกัน | ทวีศักดิ์ เผือกสม |
2559 | ถกเถียงเรื่องคุณค่า | ปกรณ์ ลิมปนุสรณ์ |
2560 | ถกเถียงเรื่องคุณค่า 2 | เสาวณิต จุลวงศ์ |
2561 | ปริทรรศน์นักทฤษฎีมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ร่วมสมัย | วิศรุต พึ่งสุนทร |
2562 | นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม | สุรเดช โชติอุดมพันธ์ |
2563 | วิธีวิทยาทางปรัชญา | พิพัฒน์ สุยะ |
2563 | วิธีวิทยาในการศึกษาประวัติศาสตร์ | ทวีศักดิ์ เผือกสม |
2564 | สุนทรียสหสื่อ | นัทธนัย ประสานนาม |
2564 | สำรวจพื้นที่ทางสังคม: อัตลักษณ์ ปฏิบัติการ และภาพตัวแทน | สันต์ สุวัจฉราภินันท์ |
การประชุม อบรมสัมมนา และเบ็ดเตล็ด (พ.ศ. 2550 – 2558)
ปีที่จัด | กิจกรรม | หัวหน้าโครงการ |
---|---|---|
2550 | ค่ายปรัชญาและศาสนาสัมพันธ์ ครั้งที่ 3 | ไพรินทร์ กะทิพรมราช |
2551 | ค่ายปรัชญาและศาสนาสัมพันธ์ ครั้งที่ 4 | ไพรินทร์ กะทิพรมราช |
2552 | ค่ายปรัชญาและศาสนาสัมพันธ์ ครั้งที่ 5 | ไพรินทร์ กะทิพรมราช |
2553 | โครงการจัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ “อารมณ์ขันในอาเซียน” | พจี ยุวชิต |
2556 | จัดประชุมวิชาการระดับนานาชาติ ก้าวหน้าจากรากแก้ว: เวทีวิจัยและเทศกาลละครร่วมสมัยไทย/อาเซียน | ปริดา มโนมัยพิบูลย์ |
2558 | จัดประชุม “ปอยปัญญา: หนึ่งทศวรรษมหาบัณฑิต สกว. มนุษยศาสตร์ – สังคมศาสตร์” | สันต์ สุวัจฉราภินันท์ |