Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 2

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 2

หัวหน้าโครงการ : รศ. ดร. สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์

หน่วยงาน : คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 

ระยะเวลา : 1 มีนาคม 2548 – 28 กุมภาพันธุ์ 2549

วันที่จัดการประชุม : 10-11 สิงหาคม 2548

สถานที่จัด : โรงแรมปางสวนแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเปิดเวทีเสนอผลงานวิจัย/วิชาการ ทางมนุษยศาสตร์ของไทย
  2. เพื่อพัฒนาแนวการศึกษาวิเคราะห์ซึ่งเน้นลักษณะสหสาขาวิชา
  3. เพื่อเชื่อมโยงการศึกษาวิจัยมนุษยศาสตร์กับปัญหาสังคมร่วมสมัย
  4. เพื่อจุดประกายให้วงวิชาการเห็นความสำคัญของการวิจัยทางมนุษยศาสตร์

 

คำสำคัญ:

ภาษาสื่อ จินตนาการและอำนาจ

  • สื่อ จินตนาการ ศิลปะ และกฎหมาย (ศึกษาเฉพาะกรณีร่างกายของผู้หญิง) โดย รศ.ดร.สมเกียรติ ตั้งนโม ผศ.ดร.สมชาย ปรัชากุล และ อ.ดร.จิรพร วิทยศักดิ์พันธุ์
  • ภาษา: พลังในการสร้างและธำรงอำนาจทางการเมือง (ยังไม่เสร็จ) โดย อ.ดร.อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล 
  • ความสัมพันธ์เชิงอำนาจในหนังสือนิทานภาพสำหรับเด็กไทย โดย รศ.ดร.สรณี วงศ์เบี้ยสัจจ์ อ.ดร.หัทยา จันทรมังกร และ อ.ดร.ศตนันท์ เปียงบุญทา
  • Positive Law and Folktales in Far-eastern Asian Law Context โดย Alexander Shytov

 

ความเป็นไทย ความเป็นอื่น

  • การสร้างความเป็นไทย กระแสหลัก และ “ความจริง” ที่ “ความเป็นไทย” สร้าง โดย รศ.ดร.สายชล สัตยานุรักษ์ 
  • บทวิจารณ์ การสร้างความเป็นไทย กระแสหลัก และ “ความจริง” ที่ “ความเป็นไทย” สร้าง วิจารณ์โดย รศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ
  • การเปลี่ยนแปลงพรมแดน “ความเป็นชาติและชาติพันธุ์” โดย คุณศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ
  • การสร้างความเป็น “ไทยอีสาน” ต้นแบบการพัฒนาอีสาน โดย คุณอุศนา นาศรีเคน
  • ศิลปะสั้น ชีวิตยืนยาว: กำเนิดศิลปะและศิลปิน “ไทย” โดย คุณชำนาญ แสนศิริโฮม

 

มนุษยศาสตร์ ศิลปะ ประวัติศาสตร์ กับสังคม

  • กระบวนการต่อรองและสร้างความหมายของนักเรียนชายขอบ โดย พระภูวดล ปิยสีโล
  • ตำนานพระเจ้าเลียบโลก : วรรณกรรมทางศาสนาที่ว่าด้วยภูมิภาคและท้องถิ่นศึกษา โดย อ.ดร.เธียรชาย อักษรดิษฐ์
  • กุหลาบ สายประดิษฐ์ และไปข้างหน้า และการปฏิวัติ 2475 โดย อ.ดร.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
  • “ศิลปะเพื่อชีวิต” ในช่วงทศวรรษ 2492-2501 โดย คุณสมิทธ ถนอมศาสนะ
  • สมเด็จพระนเรศวรมหาราช จากวีรบุรุษจารีตสู่วีรบุรุษแบบลัทธิเสด็จพ่อ โดย อ.ดร.บาหยัน อิ่มสำราญ

มนุษยศาสตร์ รัฐ ท้องถิ่น ความรุนแรง และทางออก

  • ความรุนแรงในสถาบันการศึกษาไทย โดย คุณชวลิต ว่องวารีทิพย์
  • บทบาทของสื่อมวลชนไทยในการรายงานข่าว ความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน โดย คุณคมสัน รัตนสิมากุล
  • สังนิยมมหัศจรรย์ในวรรณกรรมไทยกับวาทกรรมแห่งความเป็นอื่น โดย อ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธุ์
  • นิเวศสำนึกแบบองค์รวมในนวนิยาย To God Unknown ของจอห์น สไตน์เบ็ค โดย คุณวศินรัฐ นวลศิริ

 

ศิลปะและวรรณกรรมขัดขืน  ศิลปะและวรรณกรรมเยียวยา

  • การใช้สรีระเป็นตัวบทของการต่อต้านผ่านภาพแทนของสรีระผู้หญิงและประเทศ ฟิลิปปินสในนวนิยายของเจสสิกา แฮกดอร์น เรื่อง ด็อกอีทเทอร์ (Text of Resistance: Jessica Hagedorn’s Representations of the Female Body and the Philippines in Dogeaters) โดย อ.ดร.ชลาธิป วสุวัต
  • Amy Tan’s The Joy Luck Club: A Break from Convention, a Resistance in Writing โดย คุณวรรณพรรธ์ สุรนันท์
  • Kincaid’s Annie John: A Search of Independence (แอนนี่จอห์น เสียงเพรียกแห่งอิสรภาพ) โดย คุณกอปรพร มณีรัตน์
  • The Suspension of Time in Short Stories of Gabriel Garcia Marquez โดย คุณเมธาวี โหละสุต

 

ความเป็นธรรมเชิงวรรณศิลป์

  • ภาพลักษณ์พ่อค้ายิวบทละครยุคอลิซาบีทัน โดย รศ.ดร. พจี ยุวชิต
  • บ้าหรือดี : จิตวิทยากับความเป็นธรรมในวรรณกรรมอังกฤษยุคศตวรรษที่ 20 โดย ผศ.ดร.คารินา โชติรวี
  • มุมปากโลก “ปาก” ของใคร: ขมขื่นในวรรณกรรมสตรีร่วมสมัย โดย อ.ดร.ชุติมา ประกิศวุฒิสาร
  • วรรณกรรมกับความเป็นธรรม: การศึกษาเรื่องสั้นเวียดนามยุคหลังสงคราม โดย ดร.มนธิรา ราโท 

การเสวนาโต๊ะกลม หัวข้อ มนุษยศาสตร์ปลายเปิด หัวข้อ “วิธีคิดและวิธีวิทยาของมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และวิทยาศาสตร์: อดีต ปัจจุบัน อนาคต” โดย อ.ดร.ประมวล เพ็งจันทร์ อ.ดร.ชัชวาล ปุญปัน รศ.ดร.สุริชัย หวันแก้ว

การอภิปรายเชิงวิชาการเรื่อง วิกฤตโลก วิกฤตมนุษยศาสตร์  โดย ผศ.ดร.ไชยันต์ รัชชกูล ดร.วีระ สมบูรณ์ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ คุณสุภิญญา กลางณรงค์

การอภิปราย เรื่อง มนุษยศาสตร์ต้องห้าม

  • หัวข้อ “ความรู้ต้อง (ไม่) ห้าม:จักรญาณนิยม” โดย ผศ.ดร. ธเนศ วงศ์ยานนาวา
  • หัวข้อ “มนุษย์ต้อง (ถูก) ห้าม” โดย คุณมุกหอม วงษ์เทศ

ปาฐกถาและเสวนา เรื่อง พหุวัฒนธรรมกับเอกภาพแห่งรัฐประชาธิปไตย โดย รศ.ดร. มารค ตามไท

รายการ “สนุกกับมนุษยศาสตร์”

  • ชมภาพยนตร์
  • เสวนาเกี่ยวกับหนังสือเรื่อง คุยเฟื่องเรื่อง“อ่าน (ไม่)เอาเรื่อง” โดย ผศ.ดร.ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์ ผศ.ดร.จาตุรี ติงศภัทิย์