Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 7

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 7 “ความกลัว ความหวัง จินตนาการ การเปลี่ยนแปลง”

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ฐิรวุฒิ  เสนาคำ

หน่วยงาน : สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ 

ระยะเวลา : 1 กรกฎาคม 2556 ถึง 30 มิถุนายน 2557

วันที่จัดการประชุม : 23 – 24 มกราคม 2557

สถานที่จัด : ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและการพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเปิดมุมมองทางมนุษยศาสตร์ในการทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงทางสังคมที่ส่งผลกระทบต่อตัวมนุษย์ อันก่อให้เกิดความกลัวและความหวัง รวมทั้งจินตนาการซึ่งเป็นสมรรถภาพที่สำคัญของมนุษย์ อันก่อให้เกิดความกลัวและความหวัง รวมทั้งจินตนาการซึ่งเป็นสมรรถภาพที่สำคัญของมนุษย์ในการเรียนรู้ การสร้างสรรค์และการแก้ปัญหา
  2. เพื่อกระตุ้นให้เกิดจินตนาการใหม่เกี่ยวกับการดำรงอยู่ของมนุษย์ในสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลาย
  3. เสริมสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ทั้งในระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ

 

คำสำคัญ: ความกลัว ความหวัง จินตนาการ การเปลี่ยนแปลง ศิลปะ วิกฤตเชิงคุณค่า วัฒนธรรมอาเซียน

ความแปลกแยก ความสิ้นหวัง และความรักในแนวคิดตะวันตก

  • รักไม่ยอมเปลี่ยนแปลง : ว่าด้วยความรักในกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลงในปรัชญาของเคียร์เคอการ์ด โดย รชฏ ศาสตราวุธ ภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • การเมืองของนักปรัชญในปรัชญาการเมือง : บทสำรวจ ข้อถกเถียง และ “การเมือง” ของการตีความปรัชญาทางการของกรีกโบราณในโลกร่วมสมัย โดย อรรถสิทธิ์ สิทธิดำรง หลักสูตรรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • ปัญหาความแปลกแยกกับการสูญเสียชุมชนในสังคม โดย ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์ ภาควิชาปรัชญา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ก่อกำเนิดของความกลัวในทรรศนะของปรัชญาอัตถิภาวนิยม โดย ปิยบุตร สุเมตติกุล Centre for Philosophy, Jawaharlal Nehru University

 

เสียงเพรียกจากชุมชนท้องถิ่น

  • เสียงเพรียกจากผู้นำชุมชน : บทบาทในการหนุนเสริมกระบวนการสันติภาพปาตานี โดย กษมา จิตร์ภิรมย์ศรี School of Politics, Jawaharlal Nehru University
  • รื้อสร้างวรรณกรรม “ภาพตัวแทนชุมชนป่า”: การรื้อฟื้นเสียงที่หายไปและหาพื้นที่ให้กะเหรี่ยงโผล่วมีที่ยืนระหว่างคมเขาควาย โดย บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลาครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • การสร้างพื้นที่สุขภาวะท่ามกลางพื้นที่ความไม่สงบในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ : กรณีตำบลมะนังดาลำ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี โดย อิมรอน ซาเหาะ สถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

 

ความกลัวและความย้อนแย้งในภาษา วัฒนธรรม และการเมือง

  • ผ้าคลุมผม : ผัสสะและจินตนาการในสังคมมลายู โดย ศรยุทธ์ เอี่ยมเอื้อยุทธ นักวิชาการอิสระ
  • สู่รัฐบาลอานันท์ 2 : สภาวะความย้อนแย้งของหลักการ “นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง” โดย กิตติศักดิ์ สุจิตตารมย์  ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • การเมืองของความกลัว และการสร้างความหวาดหวั่นโดยรัฐและสังคม : กรณีศึกษาประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดย นพพล อาชามาส คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์ความกลัวในภาษาไทย โดย ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

การเขียน สื่อ และเรื่องเล่า 

  • ฮิกายัตปัตตานีในฐานะงานวรรณกรรม : หน้าที่ทางการเมืองของเรื่องเล่าและการเล่าเรื่อง โดย ดร.พิเชฐ แสงทอง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • ชายแต่งหญิง หญิงแต่งชาย : พินิจกรอบความคิดเรื่องเพศกับการแต่งกายข้ามเพศของตัวละครเอกหญิงในบทละครสุขนาฏกรรมของเชคสเปียร์ โดย ภูมิ ชาญป้อม หลักสูตรภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • สื่อกะเหรี่ยงบนชายแดนไทย-พม่า : สายสัมพันธ์พรมแดนและตัวตนทางชาติพันธุ์ โดย มาโนช ชุ่มเมืองปัก คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • “แผ่นดินนี้” ใน “สี่แผ่นดิน”: ภาษาและอุดมการณ์ในเพลงประกอบละครเวที “สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล” กับปริบทสังคมวัฒนธรรมไทยร่วมสมัย โดย ดนัย พลอยพลาย และสิรีมาศ มาศพงศ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ความฝัน ความหวัง และจินตนาการตะวันออก

  • ผีเสื้อกับโจวกง : ข้อเสนอทางปรัชญาว่าด้วยความฝัน ความหวัง และการแปรเปลี่ยนในปรัชญาขงจื่อและจวงจื่อ โดย ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • บทความ โดย ดร.วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • “แม้ไม่มีใครรู้จักก็ไม่หวั่นไหว” : บทวิเคราะห์ความพยายามของขงจื่อในการหาตำแหน่งแห่งที่ของตนในสังคม โดย นุชรี วงศ์สมุท คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พลังแห่งจินตนาการกับบรรทัดฐานมนุษธรรม โดย วรรณทนา ลมพัทธยา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

การแปลและการแปรของงานสร้างสรรค์ในสังคมยุคเปลี่ยนผ่าน

  • การประกวดศิลปกรรมก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ.ศ. 2475 : ปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจภายใต้บทบาทการอุปถัมภ์โดยราชสำนัก โดย สิทธิธรรม โรหิตะสุข คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • จากต้นธารหลานชางสู่ลำน้ำโขง : จากวรรณกรรมจีนสู่วรรณกรรมไทยภาษาจีน โดย ปิยวรรณ ปิยะกาญจน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
  • การศึกษากลวิธีการแปลทางวัฒนธรรมในงานวรรณกรรมเรื่อง “หลายชีวิต” ของหม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช โดย ณิชนันท์ ตัญธนาวิทย์ สถาบันภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ธราธร ทัดดาว หนุ่มผมยาว สาวผมสั้น : ลักษณะตัวละครต้องห้ามในละครโทรทัศน์อิสลาม  โดย สุธี นามศิริเลิศ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

จินตนาการทางการเมืองยุคหลังอุดมการณ์

  • พลวัตของ “การเมืองบนท้องถนน” กับ “ความ(สิ้น)หวัง” ของนักกิจกรรมทางการเมือง โดย อุเชนทร์ เชียงเสน สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • วิกฤตเชิงคุณค่าของประชาธิปไตยไทย: ประชาธิปไตยแบบชนชั้นนำ กับความเท่าเทียม (เทียม) ในพื้นฐานตรรกะว่าด้วยการทำประชามติเรื่องความปรองดองในทางการเมือง โดย พิสิฐิกุล แก้วงาม คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
  • การกลับมาของ Antonio Negri: ว่าด้วยการตีความ Spinoza จากมุมมองมาร์กซิสต์ ทุนนิยม และโครงการทางการเมืองของคอมมิวนิสต์ ทุนนิยม และโครงการทางการเมืองของคอมมิวนิสต์ โดย เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • กระแสลัทธิมาร์กซ์ตะวันตก (Western Marxism) กับความคิด ความหวังทางการเมืองของปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยภายหลังการตกต่ำล่มสลายของพคท. (ระหว่างพ.ศ.2524-2534) โดย ดร.ธิกานต์ ศรีนารา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

 

อดีต ปัจจุบัน ของภาษาและวัฒนธรรมอาเซียน 

  • ถั่ว แป้ง และเนย: เศรษฐกิจการเมืองว่าด้วยอาหาร: ของตำรวจอินเดียในพม่าสมัยอาณานิคม, 1887-1937 โดย ลลิตา หิงคานนท์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ประวัติศาสตร์ประเทศเรา: วีรบุรุษแห่งชาติและการวางโครงสร้างประวัติศาสตร์ชาตินิยมเวียดนามของโฮจิมินห์ โดย มรกตวงศ์ ภูมิพลับ สถาบันนานาชาติปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (สละสิทธิ์)
  • ผู้หญิงสมัยใหม่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในพม่า ค.ศ.1885-1945 โดย นิสารัตน์ ขันธโภค นักวิชาการอิสระ
  • ความหวังในความสิ้นหวัง : การต่อสู้กู้ชาติของสตรีเมียมมาในนวนิยายเรื่อง อะผะยู่ (Aphyu) ของจ่าแหน่จ่อ มะมะเล โดย วทัญญู ฟักทอง นักวิจัยโครงการ “ปริทรรศน์ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้” โดย สกว.

บรรยายพิเศษ

  • หัวข้อ ทุกข์ใหม่ของสังคมไทย โดย ดร.มารค ตามไท
  • บรรยายพิเศษหัวข้อ “บุหงาของฉันหายไปไหน : ความภักดีเปลี่ยน สังคมแปลง” โดย ศ.ดร.ชัยวัฒน์ สถาอานันท์

 

อภิปราย

  • หัวข้อ “พรมแดนมนุษยศาสตร์กับการเปลี่ยนแปลงในสังคมร่วมสมัย” โดย ศ.ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ศ.ดร.ยศ สันตสมบัติ
  • หัวข้อ “วิกฤตเชิงคุณค่ากับมุมมองทางมนุษยศาสตร์” โดย ศ.ชวน เพชรแก้ว ศ.สุริชัย หวันแก้ว ดร.เลิศชาย ศิริชัย
  • หัวข้อ “การแปลในฐานะจินตนาการประสบการณ์อื่น” โดย ศ.ดร.ผาสุก พงษ์ไพจิตร Chris Baker ผศ. ดร. มนธิรา ราโท อ.สดใส ขันติวรพงศ์ ดร.แพร จิตติพลังศรี

 

เสวนา หัวข้อ “ศิลปะที่หายไป: ข้อจำกัดและความหวังของงานจิตนาการสร้างสรรค์” โดย ผศ.ปริทรรศ หุตางกูร อุทิศ เหมะมูล อ.คงกฤช ไตรยวงค์

กิจกรรมอื่น ๆ 

  • Performance Art โดยนักศึกษาจากหลักสูตรจิตรกรรม สาขาศิลปบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
  • นิทรรศการศิลปะ “เสมือนมิใช่ตัวเอง” ผลงานของนักศึกษาหลักสูตรจิตรกรรม สาขาศิลปบัณฑิต คณะมนุษศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช