Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 12

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 12 “อยู่ด้วยกัน”:โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้า และความเป็นอื่น”

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน

หน่วยงาน : คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม 

ระยะเวลา : 1 มีนาคม 2561 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2562

วันที่จัดการประชุม : วันที่ 7 – 8 กันยายน 2561

สถานที่จัด : อาคาร 36 ปี คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ นครปฐม

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเป็นเวทีให้มีการถกเถียงเรื่องอยู่ด้วยกันในประเด็นต่าง ๆ ได้แก่ อยู่กับชีวิตอื่น อยู่กับพื้นที่ อยู่ด้วยกันในโลกจริงและโลกเสมือนจริง อยู่กับวิทยาการ อยู่กับความขัดแย้ง การอยู่กับตัวเอง และอยู่เป็นเย็นสุข 
  2. เพื่อเป็นเวทีส่งเสริมและสนับสนุนให้นักวิชาการระดับชาติ ระดับนานาชาติ และนักวิชาการรุ่นใหม่ได้เข้าร่วมพิจารณา ถกเถียง สนทนา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาประเด็นวิจัยว่าด้วยการอยู่ด้วยกันในพื้นที่ใหม่ๆที่เกิดขึ้น อีกทั้งยังเป็นเวทีส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการนาเสนอผลงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ของไทยสู่สาธารณะโดยเฉพาะประเด็นการดารงอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับคนอื่นที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย รวมทั้งส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยของนักวิจัยรุ่นใหม่ สร้างเครือข่ายทางวิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสาขาที่เกี่ยวข้อง ทั้งระดับชาติและระดับนานาชาติ 
  3. เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านมนุษยศาสตร์ที่มีคุณภาพและทันสมัยต่อสาธารณะในประเด็น “อยู่ด้วยกัน”: โลก เทคโนโลยี ความเหลื่อมล้า และความเป็นอื่น 


คำสำคัญ: อยู่ด้วยกัน, โลก, เทคโนโลยี, ความเหลื่อมล้า, ความเป็นอื่น

อยู่กับชีวิตอื่น : ต่างสมรรถนะ ต่างอุดมการณ์

  • ความเป็นไทยและความเป็นอื่นในชื่ออาหารไทยที่แปลเป็นภาษาฝรั่งเศส โดย ผศ.ดร.ธีระ รุ่งธีระ
  • ปรากฏแต่ว่างเปล่า: นามสกุล “ไม่ปรากฏนามสกุล” กับมานุษยวิทยาว่าด้วยชื่อของ “เด็กต่างด้าว” ในโรงเรียนรัฐไทย โดย อ.มุจลินท์ สุดเจริญ
  • แรงงานอารมณ์: เซ็กส์ข้ามแดน อานาจและการต่อรองในเพศพาณิชย์ข้ามพรมแดนของผู้หญิงแรงงานข้ามชาติลาว กรณีศึกษา พื้นที่ชายแดนแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดย อ.นัฐวุฒิ สิงห์กุล
  • “ก่อนจะเป็น “บิดาแห่งวิทยาศาสตร์”: ความทรงจาเกี่ยวกับ “พระจอมเกล้า” แบบอื่นในสังคมไทย” โดย สิกขา สองคาชุม
  • พันธมิตรทางอุดมการณ์: ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับชาวม้งในฐานที่มั่นปฏิวัติ ทศวรรษ 2510 – 2520 โดย มุทิตา เจริญสุข 

 

อยู่กับวิทยาการ ความรู้และเทคโนโลยี AI

  • จักรกลจะมีจิตสานึกได้หรือไม่: มุมมองทางปรัชญา Can Machines Become Conscious: A Philosophical Perspective โดย อ.ดร.ปิยบุตร สุเมตติกุล
  • การเป็นผู้กระทาการร่วม: เมื่อมนุษย์อยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ โดย อ.ดร.ปิยณัฐ ประถมวงษ์ 
  • มนุษย์แอนะล็อกในโลกดิจิทัล: การอยู่ร่วมกันของมนุษย์กับวิทยาการในภาพยนตร์ชุด Westworld โดย อ.อรรถพล ปะมะโข
  • ความเป็นแม่: พื้นที่การอยู่ร่วมกันระหว่าง “คน” กับ “เทคโนโลยี” โดย ผศ.ปาณิภา สุขสม และ ผศ.ดร.จักรกริช สังขมณี
  • โปรดเตรียมเทียบเวลา : ความอยากอยู่อย่างตรงเวลาแบบนาฬิกากลในสังคมไทย, ช่วงทศวรรษ 2460 – 2490 โดย พรนภา ทัดดอกไม้
  • วิธีคิดวิทยาอื่นในศาสตร์ด้านหลักสูตร: ว่าด้วยปฏิบัติการช่วงชิงอุดมการณ์ในวงการครุศึกษาไทย โดย อ.ดร.ออมสิน จตุพร 

 

อยู่กับความเป็นอื่น: สัตว์ พระเจ้า มนุษย์

  • Soren Kierkegaard and the Problems of the Hiddenness of God โดย อ.พุทธิพงศ์ อึงคนึงเวช
  • การกลายเป็นสัตว์: ข้อวิจารณ์ของจวงจื่อต่อมนุษย์นิยมสานักขงจื่อ โดย ผศ.ดร.ศริญญา อรุณขจรศักดิ์
  • ความคลาดเคลื่อนในการมีความเข้าใจของดาซายน์ โดย ดลวัฒน์ บัวประดิษฐ์

 

อยู่กับพื้นที่ : มหานคร เมือง ชนบทและชายแดน

  • ทฤษฎีระบอบนคร: บททดลองเสนอ โดย ผศ.ดร.วัชรพล พุทธรักษา
  • อยู่ในตรอกเล็กซอกน้อย: สถานอบายมุขกับแหล่งบ่มเพาะนักเลงในกรุงเทพฯ พ.ศ.2410-2500 โดย วรยุทธ พรประเสริฐ และ ผศ.ดร.ทวีศักดิ์ เผือกสม
  • อยู่ร่วมกันในคุกต่างประเทศ : นักโทษ, อาณานิคม และการปฏิรูปราชทัณฑ์ช่วงปลายระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สยาม โดย อ.ศรัญญู เทพสงเคราะห์
  • Los Angeles Freeway and Capitalistic Violence in Bret Easton Ellis’ Less than Zero โดย ผศ.เมธาวี โหละสุต
  • แฟนบอลกับการแสวงหาพื้นที่สมดุลใหม่ในกระบวนการศิวิไลซ์ โดย ปัณณวิชญ์ เถระ 

 

อยู่ด้วยกันในโลกจริงและโลกเสมือนจริง : สื่อใหม่ จริยธรรมเสื่อและความเป็นส่วนตัว

  • จากฝีแปรงสู่ฟอนต์ลูกทุ่ง: ความสร้างสรรค์ของคนทาป้ายในยุคดิจิทัล โดย สรัช สินธุประมา
  • บทสารวจเบื้องต้นว่าด้วย สินค้าผู้ชม (audience commodity) กับการศึกษาสื่อ โดย รวิพล ลี้มิ่งสวัสดิ์ 
  • โลกปิตาธิปไตยเสมือนจริงของผู้หญิงชื่อ “ศิราณี” โดย ชานันท์ ยอดหงษ์ 
  • ล่องไพร กับการสร้างมโนทัศน์ “ลูกผู้ชายนักผจญภัย” ในทศวรรษ 2490 โดย พีรณัฐ เปี่ยมศักดิ์สันติ 
  • อยู่กับแฟน: บันเทิงคดียาโออิของไทยกับวัฒนธรรมมวลชนในบริบทข้ามสื่อ โดย รศ.ดร.นัทธนัย ประสานนาม

 

อยู่กับความขัดแย้ง: ความเป็นธรรม ความเสมอภาค ประชาธิปไตย

  • “ปรัชญา” และ “หัวใจ” ของการผลิต “ทหารอาชีพ” ตามแนวทางของโรงเรียนนายร้อยตะวันตก และข้อคิดสาหรับไทย โดย พันเอก ดร.สรศักดิ์ งามขจรกุลกิจ
  • นักวิชาการมนุษยศาสตร์และความขัดแย้งในสังคมไทย: คุณธรรมเชิงสติปัญญาและความอยุติธรรมเชิงญาณวิทยา โดย รศ.ดร.ปกรณ์ สิงห์สุริยา 
  • ไผ่เหล็กลู่ลม : ความ “อยู่เป็น” กับการกาหนดนโยบายต่างประเทศของรัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา โดย อภิพล แซ่ตั้ง 
  • รัฐองค์รวม (Integral State) กับการศึกษาเชิงวิพากษ์ของการจัดการทรัพยากรป่าไม้ และที่ดินหลังพฤษภาคม 2557 โดย โอฬาร อ่องฬะ 
  • อยู่กับบาดแผลจากความรุนแรงทางการเมือง ปี 2553-2557 โดย ผศ.ดร.บุญเลิศ วิเศษปรีชา 

ปาฐกถา

  • หัวข้อ Three Concepts of Community โดย Prof. Taylor Carman
  • หัวข้อ “สื่อ โลกเสมือน กับความเท่าเทียมในศตวรรษที่ 21″ โดย สฤณี อาชวานันทกุล อธิคม คุณาวุฒิ Iain Haddow
  • หัวข้อ  “ฉัน เธอ เขา เราต่างเหงาด้วยกัน” โดย วีรพร นิติประภา โตมร ศุขปรีชา อาจารย์คงกฤช ไตรยวงค์ อาจารย์อาทิตย์ ศรีจันทร์
  • หัวข้อ “อยู่ด้วยการในพื้นที่: เมือง ชนบท และชายแดน” โดย ผศ.ดร.จักรกริช สังขมณี ผศ.ภิญญพันธุ์ พจนะลาวัณย์ อ.ดร.ทวีลักษณ์ พลราชม ผศ.ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ

 

TRFTalk

  • หัวข้อ “โลกเสมือนจริงกับความเท่าเทียมในศตวรรษที่ 21” โดย ผศ.ดร.ธานี ชัยวัฒน
  • หัวข้อ “ความเท่าเทียมทางการศึกษาในศตวรรษที่ 21” โดย ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล 

 

การแสดง String Quartet