Thai Humanities Forum

อารมณ์ขันในอาเซียน

|Thai Humanities Forum|

การประชุมระดับนานาชาติ “อารมณ์ขันในอาเซียน”

หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร. พจี ยุวชิต 

หน่วยงาน : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันที่จัด : 4 – 5 สิงหาคม 2553

สถานที่จัด : อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อารมณ์ขันเป็นอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ที่พบในวาทกรรมประเภทต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหา การใช้ภาษา หรือการใช้สื่อในรูปแบบต่างๆ ซึ่งอาจเป็นรูปภาพหรือศิลปะแขนงอื่น ๆ ที่สอดแทรกอยู่ในผลงาน บางครั้งผลงานต่างๆ ก็เป็นไปเพื่อความสนุกสนานและความรื่นเริงบันเทิงใจแก่ผู้อ่าน/ผู้เสพ  แต่เมื่อพิจารณาให้ลึกซึ้งจะเห็นว่าการแสดงออกซึ่งอารมณ์ขันมีความซับซ้อนและลุ่มลึกมากกว่าการให้ความสนุกสนานธรรมดา  บ่อยครั้งอารมณ์ขันมีไว้เพื่อเสียดสีหรือเยาะเย้ยสิ่งที่ผู้นำเสนอเห็นว่าสังคมควรตระหนักถึงความจริงบางอย่างที่ไม่สามารถพูดอย่างจริงจังหรือตรงไปตรงมาได้ จึงต้องเสนอเรื่องราวในสื่อที่ให้ความขบขันบันเทิง  บางครั้งอารมณ์ขันสามารถช่วยกู้สถานการณ์ที่เลวร้ายให้กลายเป็นดีได้ อารมณ์ขันจึงเปรียบได้กับเครื่องมือหรืออาวุธสำคัญที่ผู้เขียนส่งข้อความที่ต้องการนำเสนอให้แก่ผู้อ่าน อารมณ์ขันที่สอดแทรกอยู่ในผลงานอาจทำให้ผู้คนหัวเราะจนงอหาย แต่อารมณ์ขันบางประเภทเมื่อพิจารณาอย่างพินิจพิเคราะห์และเข้าใจถึงที่มาที่ไปก็อาจจะทำให้หัวเราะไม่ออกกับสิ่งที่ดูเหมือนน่าขัน และผู้ที่จะหัวเราะไม่ออกเลยก็คือผู้ที่เป็น “เนื้อหา” ของอารมณ์ขันนั่นเอง

คณะผู้จัดการประชุมครั้งนี้เชื่อว่าความแตกต่างทางเชื้อชาติ  เผ่าพันธุ์  ภาษา ประวัติศาสตร์ คติความเชื่อ และวัฒนธรรมของผู้คนในภูมิภาคอาเซียนสะท้อนให้เห็นสภาพความร่ำรวยของอารมณ์ขัน  การที่นักวิจัยและนักวิชาการที่สนใจเรื่องนี้ได้มีโอกาสนำเสนอผลงานวิชาการ และพบปะกันจะทำให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิด  ความเข้าใจในศิลปะ  บทบาทและประโยชน์ของอารมณ์ขัน ซึ่งอาจนำไปสู่การประยุกต์ใช้อารมณ์ขันในทางบวกเพื่อคลายปัญหาความขัดแย้งทั้งในระดับบุคคล ชุมชน ประเทศและภูมิภาค

วัตถุประสงค์

  1. เปิดเวทีวิชาการนานาชาติเพื่อเสนอผลงานเกี่ยวกับอารมณ์ขันในสื่อ ศิลปะ วรรณกรรม การ์ตูน และผลงานนานารูปแบบในภูมิภาคอาเซียน
  2. วิเคราะห์ความเหมือนและความต่างของอารมณ์ขันจากบริบททางสังคมและวัฒนธรรมในภูมิภาคเอเซียน
  3. เสนอความเชื่อมโยงระหว่างอารมณ์ขัน วัฒนธรรม อัตลักษณ์และชาติพันธุ์ทั้งในและนอกภูมิภาคอาเซียน
  4. เสริมสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ทั้งในสังคมไทยและสังคมในและนอกภูมิภาคอาเซียน

บทความที่นำเสนอ

  • Humor Mechanisms in Jokes about the Aged
  • Ethnic Joke in Lan Na Amusement Tales
  • Lao Jokes as Supplementary Materials for Teaching Lao to Thai Learner
  • What’s So Funny About Sri Thanonchai?
  • The Power of Humour in Redressing Social Imbalances: The Case of an I-san Comedy Film
  • Queer Representations and Thai Laughter: The Iron Ladies (2000)
  • “Laugh and Learn” on Contemporary Thai Stage
  • The Rhythm of the Blues: Humor, Fantasy and Melancholy in Philippine and Singaporean Gay Writing in English
  • How Can Synonyms Become Funny? A Case Study into the Use of Transformative Literary Devices in Unnarut Roy Rueng
  • Animation, a Seriously Funny Subject in Cross Cultural Telling Tales
  • Factors Influencing Comprehension of Comic Strips
  • Humor and Pathos: Filipino Diaspora Drama (Carlos Bulosan’s The Romance of Magno Rubio and Chris D. Martinez’s Welcome to Intelstar)
  • Laughing beyond Borders: P. Intharapalit’s Phon Nikorn Kim-Nguan and Its Cambodian Brothers
  • The Roles of the Comic Tales of the Thai-Khmer People in Lower Northeastern Thailand
  • What Ignites Humour in ASEAN?
  • The Bright and Dark Sides of Humor
  • Humour in Guided Tour Discourse

คำสำคัญ: อาเซียน, อารมณ์ขัน, วัฒนธรรม, อัตลักษณ์