Thai Humanities Forum

ประวัติโครงการ

| Thai Humanities Forum |

ที่มาและความสำคัญ

สังคมไทยในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมาได้เผชิญกับวิกฤตทางคุณค่านานัปการท่ามกลางความขัดแย้ง ความเปลี่ยนแปลงและความผันผวนของเศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ภาวะโลกาภิวัตน์ในโลกยุคปัจจุบันยิ่งเร่งเร้าให้ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดเร็วมากขึ้น ก่อให้เกิดการตั้งคำถามกับค่านิยมต่างๆ ที่ยึดถือกันมาเป็นเวลานาน ท่ามกลางวิถีปฏิบัติหรือจารีตทางเลือกที่ปรากฏมากขึ้นในโลกที่ผันผวนดังกล่าว พลังปัญญาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่เคยได้รับการเชื่อถือว่าเป็นที่ยึดเหนี่ยวและเป็นหลักที่ค้ำจุนรากฐานทางสังคมถูกท้าทาย นอกจากนี้ พัฒนาการของโลกวิทยาศาสตร์ยิ่งผลักดันให้วิธีคิดแบบมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์กลายเป็นศาสตร์ชายขอบ แม้แต่พลวัตในโลกมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์เองก็ดำเนินไปอย่างเนิบช้าและไม่ทันการเปลี่ยนแปลงของสังคม

ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย มีความเชื่อว่าพัฒนาการของมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อมีการอภิปราย วิพากษ์วิจารณ์ พินิจพิเคราะห์วัฒนธรรมต่างๆ พร้อมกับเปิดกว้างต่อแนวคิดและทฤษฎีต่างๆ ทั้งจากโลกตะวันตกและโลกตะวันออก เพื่อรังสรรค์และบ่มเพาะกระบวนวิธีการถกเถียงเรื่องคุณค่าและการคิดอย่างมีวิจารณญาณซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมไทยต้องพัฒนาอีกมาก

วัตถุประสงค์

  1. สร้างผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งประยุกต์ใช้แนวคิดเชิงทฤษฎีต่างๆ เชื่อมโยงปัญหาสังคมร่วมสมัย สำรวจระเบียบวิธีใหม่ ๆ ทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และพัฒนาการตั้งโจทย์วิจัยเชิงบูรณาการ
  2. พัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่โดยให้ทำงานร่วมกับนักวิจัยรุ่นพี่
  3. สร้างเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ไทยและนักมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ชั้นนำจากนานาประเทศ
  4. เผยแพร่ผลงานวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์สู่วงวิชาการ และสาธารณชนผู้สนใจทั่วไป
 

การดำเนินการ

ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2547 โครงการมีระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ปี โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (ปัจจุบันอยู่ในความรับผิดชอบของ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)) ชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยได้ดำเนินมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันเป็นระยะที่ 8 ระหว่าง พ.ศ. 2546 – 2564 ประกอบด้วยกิจกรรม 5 รูปแบบหลักด้วยกัน ได้แก่