Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 3

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 3

หัวหน้าโครงการ : –

หน่วยงาน : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

ระยะเวลา : –

วันที่จัดการประชุม : วันที่ 16 – 17  พฤศจิกายน 2549

สถานที่จัด : หอประชุมศรีบูรพา (หอประชุมเล็ก) และ อาคารคณะศิลปศาสตร์   มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อเปิดเวทีเสนอผลงานวิจัย/วิชาการ ทางมนุษยศาสตร์ของไทย 
  • เพื่อพัฒนาเชื่อมโยงงานวิจัย/วิชาการ ในสาขาวิชาทางมนุษยศาสตร์ กับสาขาวิชาอื่น ๆ พร้อมกับสร้างความร่วมมือระหว่างสาขาวิชาการที่แตกต่างกันเหล่านั้นต่อไป
  • เพื่อเชื่อมโยงการศึกษาวิจัยทางมนุษยศาสตร์กับสภาพความเป็นจริงและปัญหาของสังคมร่วมสมัย  โดยเน้นประเด็นเรื่องความหลากหลายทางสังคมและวัฒนธรรม

    

คำสำคัญ:

วิธีวิทยาการศึกษาความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรม: ขอบเขตที่ลื่นไหล ทฤษฎีที่ท้าทาย

  • เมื่อผมมองคุณอยู่ หรือคุณเองเป็นเพียงแค่ตัวผมในกระจก/หรือผมเองเพียงมองคุณผ่านกระจก  โดย เด็ดเดี่ยว เหล่าสินชัย 
  • รสนิยม “ป็อป ร็อค” ในอุตสาหกรรมวัฒนธรรมของดนตรียอดนิยม/แบบอาดอร์โน  โดย ดุษฎี วรธรรมดุษฎี
  • บททดลองนำเสนอว่าด้วยประวัติชีวิตครอบครัว: คนเล็กๆ กับวิธีการศึกษาแนวจุลประวัติศาสตร์ (Microhistory)  โดย ชาติชาย มุกสง

 

มนุษยศาสตร์อธิบายความหลากหลาย: อัตลักษณ์ ความเป็นอื่น และ คนชายขอบ

  • การสร้างอัตลักษณ์ในอัลบั้มภาพออนไลน์  โดย นราธิป วิรุฬห์ชาตะพันธ์
  • ตัวตนคนพลัดถิ่น: ผู้ลี้ภัยชาวคาเร็นนีจังหวัดแม่ฮ่องสอน  โดย บัณฑิต ไกรวิจิตร
  • คำขวัญประจำจังหวัด: “อัตลักษณ์” กับการสร้าง “จุดขาย” โดย ชนกพร พัวพัฒนกุล

 

ตัวบท: รูปแบบและกลวิธี กับความหมายที่แฝงเร้น

  • บทชมโฉม: สุนทรียภาพแห่งความเป็นอื่น โดย ปฐม หงษ์สุวรรณ
  • ความโดดเดี่ยวของจอมเผด็จการ: การเมืองของเรื่องเล่าในนวนิยายเรื่อง The Autumn of the Patriarch ของกาเบรียล การ์เซีย มาร์เกซ โดย สุรเดช โชติอุดมพันธ์
  • พื้นที่แห่งอิตถีเพศใน “เรื่องของจัน ดารา” โดย วรุณี อุดมศิลป

 

เพศสภาพ และความหลากหลายที่ท้าทายมนุษยศาสตร์

  • ทบทวนวรรณกรรม YAOI: การ์ตูนเกย์โดยผู้หญิงเพื่อผู้หญิง โดย ญาณาธร เจียรรัตนกุล
  • ภาพเปลือยในนิตยสาร เพลย์บอย สหรัฐอเมริกา ทศวรรษ 1950 ความหลากหลายที่มีมาก่อนหน้า Sexual Revolution: บทวิเคราะห์ทางประวัติศาสตร์ โดย อาวุธ ธีระเอก
  • เพศวิถี: ชีวิตคู่ของหญิงรักหญิงที่ออกแบบเองในสังคมไทย โดย สุมาลี โตกทอง

 

ภาษากลายพันธุ์ และชาติพันธุ์ทับซ้อน

  • การอ่านภาษาภาพจิตรกรรมกับอักษรธรรมล้านนา: ชื่อของพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์แม่น้ำโขง โดย อรรคพล สาตุ้ม
  • ชาติพันธุ์ในประวัติศาสตร์พม่าและประวัติศาสตร์ของเรื่องเล่าว่าด้วยชาติพันธุ์: การประกอบสร้าง “ประวัติศาสตร์การต่อสู้ระหว่างเผ่าพันธุ์ ในงานประวัติศาสตร์พม่าสมัยใหม่ ทศวรรษ 1880-1940”  โดย ธนภาษ เดชพาวุฒิกุล
  • ตำนานตัวอักษร: กลไกทางวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ที่ไม่มีตัวอักษร” โดย ศิราพร  ณ ถลาง

 

จินตนาการที่ลีบเรียว: ความฝัน ความอาย ความเชย และความเชื่อ

  • จะเด็ด: จินตนาการอันลีบเรียวของสังคมไทย  โดย บาหยัน อิ่มสำราญ
  • รสนิยมมือสอง (Second-Hand Taste) โดย ปิยรัตน์ ปั้นลี้
  • เซียมซีอิเล็กทรอนิกส์:  นวัตกรรมใหม่บนรากฐานของความเชื่อเดิม  เมื่อความเชื่อโลดแล่นอยู่บนอินเทอร์เน็ต โดย สรียา ทับทัน

 

ความคิด ความเชื่อกับเรื่องราวในภาษาภาพ

  • จิตรกรรมฝาผนังวัดโพธิ์ปฐมาวาส: ภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรมในชุมชนสงขลา สมัยต้นรัตนโกสินทร์ โดย กณิกนันท์ อำไพ
  • ตามรอยมรดกวัฒนธรรมจีนในสมัยรัตนโกสินทร์: มุมมองจากจิตรกรรมฝาผนัง โดย มาลินี คัมภีรญาณนนท์
  • การล่องเรือข้ามห้วงมหาสมุทรในจิตรกรรมฝาผนังของขรัวอินโข่ง: พุทธศาสนาสยามในแบบตะวันตก โดย สุรชัย จงจิตงาม

 

วิถีใต้กับแรงปะทะที่หลากหลาย

  • Malayness as a Problem in Thailand’s Model of National Integration โดย Patrick Jory 
  • การเมืองเรื่องวิถีชีวิต: ภาพลักษณ์และอำนาจของมุสลิมสมัยใหม่ กรณีศึกษาอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา โดย อรอนงค์ ทิพย์พิมล
  • คนใต้พลัดถิ่นกับการทบทวนอัตลักษณ์ โดย วิมลมาศ ปฤชากุล

ปาฐกถา โดย ชัยวัฒน์  สถาอานันท์

การอภิปรายเชิงวิชาการเรื่อง คนไทยยอมรับความหลากหลายทางสังคมวัฒนธรรมจริงหรือ ? โดย อานันท์  กาญจนพันธุ์ ชูศักดิ์  ภัทรกุลวณิชย์ สมศักดิ์  เจียมธีรสกุล เดชา  ตั้งสีฟ้า

การเสวนาโต๊ะกลม เรื่อง ความย้อนแย้ง (Irony) ของความหลากหลาย: บทเรียนจากมนุษยศาสตร์ โดย ปริตตา  เฉลิมเผ่า กออนันตกูล บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ ธเนศ  วงศ์ยานนาวา สายัณห์  แดงกลม