Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 4

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 4 “อารมณ์ อำนาจ ความรู้ความรู้สึก”  

หัวหน้าโครงการ : ผศ.ดร. อินทิรา  ซาฮีร์

หน่วยงาน : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 

ระยะเวลา : 1 กรกฎาคม 2550 – 30 เมษายน 2551

วันที่จัดการประชุม : 31 มกราคม – 1 กุมภาพันธ์  2551

สถานที่จัด : คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  1. เพื่อเป็นเวทีให้นักวิชาการได้นำเสนอผลงานวิชาการและงานวิจัยด้านมนุษยศาสตร์ 
  2. เพื่อพัฒนาแนวการศึกษา วิธีคิด และวิธีวิทยาการศึกษาอารมณ์ ความรู้สึก
  3. เพื่อเปิดเวทีแลกเปลี่ยนทัศนะและมุมมองเกี่ยวกับความรู้ด้านอารมณ์ ความรู้สึก
  4. เพื่อสร้างความตระหนักในความสำคัญของการทำความเข้าใจปัญหาสังคมร่วมสมัยและการแสวงหาทางออกโดยไม่ละเลยมิติอารมณ์ ความรู้สึกของมนุษย์

 

คำสำคัญ:

  • ว่าด้วยข้อสังเกตและวิธีวิทยาทางสังคมศาสตร์ที่มีต่อการศึกษาเรื่องความตาย
    โดย ดร.ไพโรจน์  วิไลนุช คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • อารมณ์ความรู้สึก โครงสร้างของเรื่องเล่า และการรับรู้ความจริง โดย  กัญญา  วัฒนกุล อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ตำนานหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด : ตำนานแห่งอารมณ์ศรัทธาและอิทธิปาฎิหาริย์  โดย สายป่าน  ปุริวรรณชนะ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เคียวเง็น : การสะท้อนความรู้สึกของชนชั้นล่างในบทละครตลกญี่ปุ่น โดย  อ.ศุกฤกษ์  ชัยรัตน์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • โลกทัศน์และความรู้สึกนึกคิดของนักบริหารอาณานิคมชาวอังกฤษที่มีต่อพม่าและคนพื้นเมือง  โดย  ธนภาษ  เดชพาวุฒิกุล นักวิจัยอิสระ
  • อินโดจีน พื้นที่ “อารมณ์ อำนาจ ความรู้ ความรู้สึก” ในวรรณกรรม Un  barrage  contre le Pacifique  (เขื่อนกั้นแปซิฟิก) ของมาร์เกอริต  ดูราส  โดย รศ.ดร.ธีรา  ศุขสวัสดิ์ ณ อยุธยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • ประชาธิปไตยแห่งอารมณ์และบทแนะนำสู่ทฤษฏีการร่นเวลาทางวัฒนธรรมของวิธีลิโอ  โดย  อ.ดุษฏี  วรธรรมดุษฏี คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภูมิปัญญาท้องถิ่น : ความรู้บนพื้นที่ วาทกรรมและอำนาจ โดย  อ.จักรพันธ์  แสงทอง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
  • ทัศนะเรื่องความอายและความละอายในปรัญชาขงจื้อ โดย  อ.ศากุน  ภักดีคำ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • เหตุผลของ “ความไร้เหตุผล” ในจริยศาสตร์แบบเซ็น โดย  อ.มัสยา  นิรัติศยภูมิ สำนักงานวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยพายัพ
  • Healing the Earth Our Heart : Consciousness Revolution Deep Ecology,and  Engaged Buddhism in Gary Snyder’s Poetry โดย  ผศ.ดร.ดารินทร์  ประดิษฐ์ทัศนีย์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มโนทัศน์เรื่องความสุขในจริยศาสตร์ของค้านท์ โดย  อ.ไพลิน  ปิ่นสำอาง คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • จาก รหัสลับดาวินชี ถึง พระเยซูในประวัติศาสตร์ : ข้อสังเกตที่มีต่อความรู้ในในแบบศาสตร์  โดย  อาวุธ  ธีระเอก คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • พื้นที่ของ “พระศรีอาริย์” ในศาสนา “พระสมณโคดม” : มุมมองผ่านตำนานพระศรีอาริย์ในสังคมไทย  โดย  อ.อภิลักษณ์  เกษมผลกูล คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • The Bluest Eye : (ฉัน) เกลียดตุ๊กตา (หนู) อยากตาสีฟ้าที่สุดในโลก โดย  ก่อนตะวัน  ผิวทอง คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • อารมณ์ต้องห้าม : อุดมการณ์กับความรักใน อะเซเลียสีแดง โดย  อ.ดร.ชุติมา  ประกาศวุฒิสาร อักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปาฐกถา

  • หัวข้อ อารมณ์ ความรู้สึก กับการแสวงหาความรู้ โดย ศ.ดร.เจตนา นาควัชระ
  • ปาฐกถา โดย ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์

 

เสวนา

  • หัวข้อ อารมณ์ในมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดย ดร.อภิญญา เฟื่องฟูสกุล ดร.สันต์ สุวัจฉราภินันท์ อ.ปวิตร มหาสารินันทน์
  • หัวข้อ ลำนำเขื่อนปากมูล : อารมณ์กับปฏิบัติการทางสังคม โดย นายสำเริง รูปสวย นายธีรพล อันมัย
  • หัวข้อ ห้ามมีอารมณ์ กับอารมณ์ต้องห้าม โดย ศ.ดร.สมบัติ จันทรวงศ์ นายแพทย์โกมาตร จึงเสถียรทรัพย์ รศ.เนื่องน้อย บุณยเนตร

 

การขับกลอนลำ โดย นายทองเจริญ สีหาธรรม นางสุดใจ มหาไชย และนายจันทรา ดวงคำ ในการเสวนา “ลำนำเขื่อนปากมูล : อารมณ์กับปฏิบัติการทางสังคม”