Thai Humanities Forum

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 5

|Thai Humanities Forum|

เวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทยครั้งที่ 5 “ข้า ค่า ฆ่า: อัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง”

หัวหน้าโครงการ : รศ.ดร. สุวรรณา  สถาอานันท์

หน่วยงาน : คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ระยะเวลา : 15 มกราคม 2552 – 14 มกราคม 2553

วันที่จัดการประชุม : 25-27 พฤศจิกายน 2552

สถานที่จัด : อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุดมุ่งหมาย

โครงการมุ่งเน้นการตอบสนองนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) โดยเปิดพื้นที่ให้กับนิสิต นักศึกษา นักวิชาการ ทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ตลอดจนนักวิชาการชาวต่างชาติได้มีบทบาทในการนาเสนอผลการวิจัย และสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการเข้าร่วมพิจารณาบทความวิจัยของนักวิชาการหลากหลายระดับ งานวิจัยที่เสนอเข้ามามุ่งตอบสนองต่อประเด็นปัญหาทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในระดับชาติและระดับท้องถิ่น 

วัตถุประสงค์ 

  1. พัฒนากระบวนการถักร้อยประเด็นอัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง ด้วยวิธีวิทยาทางมนุษยศาสตร์
  2. เปิดเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ซึ่งสะท้อนประสบการณ์ความรุนแรงที่แสดงออกในงานวรรณกรรม และข้อสังเกตจากผู้ปฏิบัติ
  3. เสริมสร้างเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ ทั้งในสังคมไทยและต่างประเทศ

 

คำสำคัญ: อัตลักษณ์  คุณค่า ความรุนแรง  มนุษยศาสตร์  

  • คำเพื่อฆ่า ค่าแห่งคำใน ‘ธารน้ำนมจากความตาย’ ของ มาร์เกอริต ยูร์เซอนาร์ 
  • ก็เพราะมันเป็นเช่นนี้ข้าจึงเห็นคุณค่าของการฆ่า: ความคิดทางการเมืองและจิตวิเคราะห์ของสลาวอย ซิเซ็ก
  • Eating the Other: Consumption and Cannibalism in the Victims
  • ผู้หญิงหายไปไหนในวาทกรรมพรหมจารี?: มุมมองจากสื่อ พ.ศ.2449-2519
  • มายาคติและความรุนแรงภาพแสดงแทน “ชาวเขา” ในแบบเรียนชั้นประถม
  • โครงการฆ่าเพื่อชาติ: ยาเสพติดกับแนวคิดทรัพยากรมนุษย์ในยุคเสรีนิยมใหม่
  • ความรุนแรง: มุมมองจากพุทธศาสนา
  • คุณค่ากับสิ่งที่เชื่อว่าจริง: อ่านใหม่ The Will to Believe ของ William James
  • ต้องถอยหลังกลับไปนานเท่าใดจึงจะเข้าใจตัวตน? โลกของปัจเจกภายใต้เงาประวัติศาสตร์ในนวนิยายเรื่อง The Wind-Up Bird Chronicle
  • พ่อมด เจ้าชายหุ่น ในกระซิบแห่งเงามืดเมื่อจินตนาการเป็นเนื้อเดียวกับความจริง
  • อมราพิศวาส: ผู้หญิงรักพระกับนัยยะของความรุนแรง
  • จากความเป็นรองสู่อัตลักษณ์อันซับซ้อนของแม่ชีไทย : กรณีศึกษาแม่ชีวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
  • การพัฒนาพื้นที่และความหมายทางประวัติศาสตร์ ของพื้นที่เมืองเก่านครราชสีมา
  • เรื่องเล่าแตกต่าง ฤๅความทรงจำแปลกแยก: การวิเคราะห์เรื่องเล่าจากความทรงจำของคนที่ผ่านเหตุการณ์ความรุนแรงกรณี ถังแดง
  • เลือด หยาดเหงื่อ และน้ำตา: การสร้างอัตลักษณ์คนข้ามเพศในนวนิยายเรื่องทางสายที่สาม ของกีรติ ชนา
  • นกไขลานกับไม้เบสบอล: อัตลักษณ์กับความรุนแรงใน The Wind-Up Bird Chronicle ของมุราคามิ ฮารุกิ
  • จัดการความขัดแย้งด้วยความคลุมเครือ: ข้อเสนอทางปรัชญาของ ซิโมน เดอ โบวัวร์
  • ความเรียงต่อความเข้าใจ ว่าด้วยความรุนแรงของฮันนาห์ อาเรนดท์’

ปาฐกถา “Identity and Violence”

การอภิปราย

  • “ข้า ค่า ฆ่า: ก้าวข้ามอัตลักษณ์ คุณค่า ความรุนแรง”
  • “ปมจิตวิทยาความรุนแรง: มุมมองจากผู้ปฏิบัติ”

 

การบรรยายพิเศษ “ความรุนแรงทางวัฒนธรรม: Foot-binding and Women In Chinese History” 

การเสวนา

  • “คิดใหม่ อัตลักษณ์ มนุษยศาสตร์: ปืน คนชายขอบ จินตนาการ”
  • “มนุษยศาสตร์หลังไมค์: อัตลักษณ์แตกสลาย”
  • “มูลค่าทางเศรษฐศาสตร์กับคุณค่าในชีวิตกับอัมมาร สยามวาลา”
  • “ถักร้อยหลากมิติความสัมพันธ์ ข่า ค่า ฆ่า”